[Clip]Ost.Beck - Moon on the water

วันอังคารที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑

Linux Distribution - Ubuntu



เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others"

อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 8.10 รหัส Intrepid Ibex นั้น มูลนิธิ อูบุนตูได้ประกาศว่าจะขยายระยะเวลาสนับสนุนเป็น 3 ปี ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้



เว็บไซต์บริษัท : http://www.ubuntu.com/

ผู้พัฒนา : Canonical Ltd. / Ubuntu Foundation

ตระกูลโอเอส : ลินุกซ์

โมเดลต้นฉบับ : โอเพนซอร์ส

เปิดตัวครั้งแรก : ตุลาคม 20 2547 (2547-10-20) (4 ปีก่อน)

รุ่นเสถียรล่าสุด : 8.10 / ตุลาคม 30 2551 (2551-10-30); -198315 วัน ที่ผ่านมา

ภาษาที่ใช้งานได้ : หลากภาษา (มากกว่า 55)

วิธีการอัปเดต : APT
ตัวจัดการแพกเกจ : dpkg

แพลตฟอร์มที่รองรับ : i386, AMD64, IA-64, UltraSPARC [1], PowerPC [2]

ชนิดเคอร์เนล : Monolithic (ลินุกซ์ เคอร์เนล)

อินเทอร์เฟซพื้นฐาน : GNOME, KDE (ดู Kubuntu) , XFCE (ดู Xubuntu)

ลิขสิทธิ์ : หลากหลาย เน้นหลักที่ GPL และ GFDL
สถานะ : ปัจจุบัน/เสถียร


ความสามารถสำคัญ


- นักพัฒนา Ubuntu จำนวนมากมาจากชุมชนเดเบียนและ GNOME โดยการออก Ubuntu รุ่นใหม่จะตรงกับรุ่นใหม่ของ GNOME อยู่เสมอ มีนักพัฒนาอีกหลายกลุ่มพยายามที่จะใช้ KDE กับ Ubuntu และทำให้เกิดโครงการ Kubuntu ขึ้น นอกจากนี้ยังมีโครงการ Xubuntu สำหรับ XFCE และตัว Shuttleworth เองยังประกาศโครงการ Gnubuntu ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด ตามอุดมคติของริชาร์ด สตอลแมน และโครงการ Edubuntu ซึ่งเป็นลีนุกซ์ที่ใช้ภายในโรงเรียนอีกด้วย - Ubuntu นั้นเน้นในเรื่องความง่ายในการใช้งานเป็นหลัก ใช้เครื่องมือ sudo สำหรับงานบริหารระบบ เช่นเดียวกับ Mac OS X- รองรับการทำงานกับทั้ง CPU ชนิด 32bit และชนิด 64bit- รูปแบบการติดตั้งแบบ Live CD ที่รันระบบปฏิบัติการจากแผ่นซีดีให้ทดลองใช้ก่อนการติดตั้งจริง- ทุกโครงการของ Ubuntu นั้นไม่เสียค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ผู้ใช้ทุกคนจากทุกประเทศสามารถขอรับซีดี Ubuntu ได้ฟรี (ทาง Ubuntu จะเป็นฝ่ายเสียค่าจัดส่งให้ทางไปรษณีย์) ใต้ชื่อโครงการ Ubuntu Shipit โครงการนี้ยังแบ่งย่อยเป็น Kubuntu Shipit, Xubuntu Shipit และ Edubuntu Shipit ด้วย- ส่วนติดต่อผู้ใช้หลังจากติดตั้งเสร็จจะเป็นสีน้ำตาลและส้ม ใช้ชื่อชุดตกแต่งนี้ว่า Human ซึ่งมีผู้ใช้บางกลุ่มไม่ชอบ แต่สามารถปรับเปลี่ยนได้ - ใช้ระบบ APT และ Synaptic ในการจัดการโปรแกรมของระบบ- Linux TLE ซึ่งเป็น Linux พัฒนาโดยคนไทยตั้งแต่ version 8.0 ก็ใช้ Ubuntu เป็นฐานในการพัฒนา

รุ่นที่ออก

- Ubuntu ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน แต่ละรุ่นใช้เรียกโดยโค้ดเนม และเลขกำกับรุ่น ซึ่งใช้ตามเลขปีคริสต์ศักราชและเดือนที่ออก อย่างเช่น รุ่นที่ออกเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 จะมีเลขรุ่นเป็น 4.10 เป็นต้น

- การเปิดตัวทุกเวอร์ชันจะออกช้ากว่า GNOME ประมาณ 1 เดือน, และออกตามหลัง 1 เดือน เมื่อ X.org ออกเวอร์ชันใหม่. ดังนั้นทุกๆการเปิดตัวของ Ubuntu จะประกอบด้วยเวอร์ชันใหม่ของทั้งGNOME และ X

- ตั้งแต่เวอร์ชัน6.06 จนถึง 8.04จะมีการติดป้ายชื่อ Long Term Support (LTS) เป็นการบอกว่ามันจะได้รับการสนับสนุนและการปรับปรุงเป็นเวลา 3 ปีสำหรับเครื่องเดสท็อปและ5 ปี สำหรับเครื่องแม่ข่าย, ด้วยการจ่ายค่าสนับสนุนทางเทคนิคของบริษัท Canonical

ประวัติและลำดับการพัฒนา

เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 โดยเริ่มจากการแยกตัวชั่วคราวออกมาทำจากโครงการ Debian GNU/Linux เมื่อเสร็จสิ้นคราวนั้นแล้วก็ได้มีการออกตัวใหม่ๆทุก 6 เดือน และมีการอับเดตระบบอยู่เรื่อยๆ Ubuntu เวอร์ชันใหม่ๆที่ออกมาก็ได้ใส่ GNOME เวอร์ชันล่าสุดเข้าไปด้วย โดยแผนการเปิดตัวทุกครั้งจะออกหลังจาก GNOME ออกหนึ่งเดือน ซึ่งตรงข้ามกับทางฝั่งที่แยกออกมาจาก Debian อื่นๆ เช่นพวก MEPIS, Xandros, Linspire, Progeny และ Libranet ทั้งหมดล้วนมีกรรมสิทธิ์ และไม่เปิดเผยCode ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในรูปแบบธุรกิจ Ubuntu เป็นตัวปิดฉากหลักการของ Debian และมีการใช้งานฟรีมากที่สุดในเวลานี้โลโก้ของ Ubuntu ยังคงใช้รูปแบบเดิมตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก ซึ่งสร้างโดย แอนดี้ ฟิสสิมอน ฟอนต์ได้รับการแจกมาจาก Lesser General Public License แล้วก็ได้มาเป็นโลโก้Ubuntu ส่วนประกอบต่างๆของUbuntu ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความไม่แน่นอนของ Debian โดยทั้งสองใช้ Debian's deb package format และ APT/Synaptic เป็นตัวจัดการการติดตั้งส่วนประกอบต่างๆUbuntu ร่วมมือกับ Debian ในการผลักดันให้เปลี่ยนกลับไปเป็น Debian ถึงแม้ว่าว่าได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ ส่วนประกอบของทั้งสองไม่สามารถเข้ากันได้ ผู้พัฒนาUbuntuหลายๆคนว่ามีตัวจัดการรหัสของส่วนประกอบของDebianอยู่ภายในตัวมันเอง อย่างไรก็ตาม แลน เมอดั๊ก ผู้คิดค้น Debian ได้วิจารณ์ในเรื่องความเข้ากันไม่ได้ในหลายๆอย่าง ระหว่างส่วนประกอบของ Ubuntu กับ Debian กล่าวไว้ว่า Ubuntu แตกต่างเป็นอย่างมากจาก Debian ในเรื่องความเข้ากันได้นั้นคือแผนการที่จะแตกแยกโดยมีชื่อเรือกว่า Grumpy Groundhog มันควรจะมั่นคงแน่นอนในการพัฒนาและทดสอบ ผลักดันให้ซอร์สโค๊ด ออกไปโดยตรงจาก การควบคุมการแก้ไข ของโปรแกรมต่างต่างๆ และโปรแกรมประยุกต์นั้นก็ได้โอนย้ายไปเป็นส่วนของ Ubuntu นั่นควรจะอนุญาตให้ เหล่าpower users และ upstream developers ในการทดสอบโปรแกรมส่วนบุคคล พวกเขาน่าจะได้ทำหน้าที่ ถ้าโปรแกรมได้ถูกกำหนดเป็นส่วนประกอบที่ได้ทำการแจกจ่ายแล้ว นอกจากนี้แล้วยังต้องการที่จะสร้างส่วนประกอบขึ้นมาด้วยตัวของพวกเขาเอง มันควรจะสามารถจัดเตรียมล่วงหน้า ก่อนคำเตือนของการสร้างที่ผิดพลาด บนโครงสร้างที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการเตรียมการเอาไว้ของ กัมไปร์ กราวฮ๊อก ร่วมมือกับ Debian Unstable ทุกๆ 6 เดือน และกัมไปร์ กราวฮ๊อก ได้ทำให้เป็นซอฟแวร์แบบสาธารณะแล้วปัจจุบัน Ubuntu ได้รับเงินทุนจาก บริษัท Canonical ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ และ บริษัทCanonical ประกาศสร้าง Ubuntu Foundation และเริ่มให้ทุนสนับสนุน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ จุดมุ่งหมายของการริเริ่มที่แน่นอนว่าจะสนับสนุนและพัฒนา เวอร์ชันต่อๆไปข้างหน้าของ Ubuntu แต่ในปี ค.ศ. 2006 จุดมุ่งหมายก็ได้หยุดลง นาย มาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ กล่าวว่าจุดมุ่งหมายที่จะได้เงินทุนฉุกเฉินจากความสัมพันธ์กับบริษัทCanonical คงจบลง ในช่วงเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ได้มี Ubuntu Live 2007ขึ้น นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ประกาศว่า Ubuntu 8.04 (กำหนดการออกเดือนเมษายน ค.ศ. 2008) จะมีการสนับสนุน Long Term Support (LTS) เขาได้ดึงบริษัท Canonical มาเป็นคณะกรรมการในการออกเวอร์ชันการสนับสนุนLTSใหม่ๆทุกๆ 2 ปี

ผู้สนับสนุน
เดลล์

ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 บริษัทDell ได้ประกาศว่าจะขายเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโน็ตบุ๊คที่ได้ติดตั้ง Ubuntu ไปด้วย และในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 คอมพิวเตอร์เหล่านั้นได้นำออกขายในสหรัฐ. พวกเขาได้เริ่มให้บริการลูกค้าในการใช้งาน Ubuntu ผ่านทางบริษัทDell, ด้วยการสนับสนุนจากบริษัท Canonical ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2007 คอมพิวเตอร์เหล่านั้นได้นำออกขายในอังกฤษ, ฝรั่งเศสและเยอรมันซึ่งเป็นไปด้วยดี ถ้าเลือกใช้เครื่อง DELL ในขณะนี้ก็จะมี ระบบปฏิบัติการ Ubuntu 7.10 กับ โปรแกรมLinDVD ไว้ดูหนังดีวีดี

Tesco

ในเดือนตุลาคม บริษัทTesco ได้ตามมาแนวเดียวกับบริษัทDell โดยเริ่มขายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการUbuntu 6.06 LTS แต่ก็มีส่วนที่ไม่เหมือนกับ Dell ที่ไม่ได้ให้บริษัทCanonical เป็นคนสนับสนุนช่วยเหลือ

System76

ตั้งแต่เริ่มแรกมาในเดือนพฤษจิกายน ค.ศ. 2005 โดย System76 เป็นบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ได้ให้การสนันสนุนระบบปฏิบัติการ Ubuntu ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ,โน้ตบุ๊ก และ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย

ไม่มีความคิดเห็น: