[Clip]Ost.Beck - Moon on the water

วันเสาร์ที่ ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ดาวเทียมที่ไทยใช้

ดาวเทียมที่ไทยใช้

ดาวเทียมธีออส (THEOS - Thailand Earth Observation Systems) เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส โดยมีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ดำเนินงานร่วมกับบริษัทเอียดส์ แอสเตรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส ด้วยงบประมาณ 6000 ล้านบาท Theos เป็นภาษากรีก แปลว่า พระเจ้า ดาวเทียมธีออส มีน้ำหนัก 750 กิโลกรัม มีวงโคจรสูงจากพื้นโลก 820 กิโลเมตร โคจรรอบโลกทุก 26 วัน มีกล้องถ่ายภาพ 2 กล้อง ที่ใช้ระบบซีซีดี เป็นอุปกรณ์บันทึกภาพ ณ ระนาบรวมแสงของระบบ ซึ่งจะแปลงข้อมูลจากแสงที่สะท้อนจากพื้นโลกให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และตัวเลนส์ของกล้องผลิตจากซิลิกอนคาร์ไบด์ (Silicon Carbide) ดาวเทียมธีออสมีวงโคจรสูงจากพื้นโลก 820 กม. จะโคจรมาที่จุดเดิมทุกๆ 26 วัน และโคจรรอบโลกทั้งสิ้น 369 วงโคจร ซึ่งระยะทางระหว่างวงโคจรแต่ละวงเท่ากับ 105 กม. สามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมทั่วโลกภายใน 35 เมื่อใช้ระบบถ่ายภาพสี และใช้เวลา 130 วันถ่ายได้ครอบคลุมทั่วโลกเมื่อใช้ระบบถ่ายภาพขาว-ดำ สามารถบันทึกภาพจากการสะท้อนแสงของพื้นโลก ได้เป็นภาพขาวดำ (Panchromatic) ที่รายละเอียด 2 เมตร แต่ละภาพมีความกว้าง 22 กม. และภาพสเปกตรัม (Multispectral) ที่รายละเอียด 15 เมตร แต่ละภาพมีความกว้าง 90 กิโลเมตร มีอายุการใช้งาน 5 ปี
ดาวเทียมธีออส เดิมมีกำหนดส่งขึ้นสู่อวกาศในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ต่อมาได้เลื่อนกำหนดส่งเป็น 9 มกราคม พ.ศ. 2551 จากฐานปล่อยดาวเทียม เมืองไบโคนัวร์ ประเทศคาซัคสถาน โดยใช้จรวดเน็ปเปอร์ (DNEPR) ของประเทศยูเครน เป็นจรวดนำส่ง

สถานีรับสัญญาณดาวเทียมตั้งอยู่ที่ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร โดยมีสถานีควบคุมดาวเทียม อยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี


ประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับ


ภายใต้โครงการดาวเทียมธีออส นอกจากตัวดาวเทียมธีออส และสถานีควบคุมและรับสัญญาณภาคพื้นดินแล้ว ประเทศไทยยังจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับการออกแบบ และสร้างดาวเทียมให้กับนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรไทย ทั้งในด้านการพัฒนาระบบดาวเทียม ระบบภาคพื้นดิน การควบคุมรับสัญญาณ และ การจัดทำผลิตภัณฑ์ภาพ, การได้สิทธิในการรับสัญญาณและการให้บริการข้อมูลดาวเทียม SPOT2, 4, และ 5 ก่อนดาวเทียมธีออสจะขึ้นสู่อวกาศ และมีการให้ทุนการศึกษา ตลอดระยะเวลา 10 ปี โดยเป็นทุนฝึกอบรมในฝรั่งเศส สำหรับเจ้าหน้าที่ไทย ในด้านเทคโนโลยีดาวเทียมและการประยุกต์ใช้ จำนวน 80 ทุน และทุนการศึกษาระดับปริญญาโท-เอก จำนวนทั้งสิ้น 24 ทุน นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญจากฝรั่งเศสจะเดินทางมาเพื่ออบรม และจัดสัมมนาให้แก่เจ้าหน้าที่ไทยทุกปี

วันศุกร์ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๐

ศัพท์ IT


4921237063 นายบัณฑูรเกียรต ผู้พึ่งธรรมคุณ

คำศัพท์ 15 คำ

1.i486 : การเรียกไมโครโพรเซสเซอร์ชนิด 80486 ของ intel ซึ่งผลิตขึ้นในปี พ.ศ. 2532 ไมโครโพรเซสเซอร์ i486 เป็นไมโครโพรเซสเซอร์ชนิด 32 บิต

2.IEEE : อ่านว่า ไอทริเพิ่ลอี เป็นคำย่อของคำว่า Institute of Electrical and Electronics Engineers เป็นองค์กรวิชาชีพวิศวกรรมและอีเล็กทรอนิกองค์กรหนึ่ง ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการพัฒนาระดับการเชื่อมโยงข้อมูลในเครือข่าย LAN มาตรฐานที่เรียกว่า IEEE 802 ต่อจากการพัฒนาแบบของ ISO Operating system Interconnection

3.integrated circuit : มักใช้คำย่อว่า IC และมักเรียกว่า ชิพ (chip) หรือ microchip เป็นการนำเอาอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิก มาต่อรวมกันเข้ากับวงจรอิเล็กทรอนิก แล้วบรรจุอัดเข้าไปในแผ่นชิพ ซึ่งทำด้วยแผ่นซิลิกคอน หรือวัสดุอย่างอื่น ในคอมพิวเตอร์มักใช้ว่า วงจรรวม (IC) สามารถจำแนกออกได้เป็นประเภทตามจำนวนของวงจรย่อย ที่มีอยู่ในวงจรรวมได้แก่ SSI วงจรขนาดเล็ก มีวงจรต่ำกว่า 10 วงจร MSI วงจรขนาดกลาง มีวงจรอยู่ระหว่าง 10-100 วงจร LSI วงจรขนาดใหญ่ มีวงจรอยู่ 100-5,000 วงจร VLSI วงจรขนาดใหญ่มาก มีวงจรอยู่ 5,000-50,000 วงจร SLSI วงจรขนาดซูเปอร์ มีวงจรอยู่ 50,000-100,000 วงจร ULSI วงจรขนาดมหึมา มีวงจรอยู่ตั้งแต่ 100,000 วงจรขึ้นไป

4.ISDN : คำย่อของคำว่า Integrated Services Digital Network เครือข่ายการสื่อสารทางไกลโดยวิธีดิจิตอล ซึ่งมีขอบข่ายโยงใยทั่วโลก ISDN พัฒนามาจากระบบโทรศัพท์ปัจจุบัน จำเป็นต้องเปลี่ยนดิจิตอลให้เป็นอนาล็อก แต่ระบบ ISDN เป็นระบบดิจิตอลมีช่องสื่อสารสำคัญอยู่สองช่อง คือ ช่อง B จะทำหน้าที่นำข้อมูลส่งผ่านไปด้วยความเร็ว 64 กิโลไบต์ ต่อวินาที และช่อง D จะทำหน้าที่ส่งผ่านสารสนเทศที่ควบคุมในอัตราความเร็ว 16 หรือ 64 กิโลไบต์ต่อวินาที คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต่อเข้ากับระบบสาย ISDN ใช้ interface ชนิดง่ายๆ และเป็นมาตรฐานเมื่อติดตั้งระบบนี้เสร็จแล้ว ISDN จะสามารถให้บริการแก่ผู้ใช้บริการได้รวดเร็วและกว้างขวางมากกว่าระบบการสื่อสารในปัจจุบัน

5.ISO : คำย่อของคำว่า International Organization for Standardization (มักมีคนเข้าใจผิดคิดว่า ISO ย่อมาจาก International Standards Organization) เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่ง มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นสมาชิก มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานต่างๆ ของสินค้าและบริการ ISO เป็นผู้กำหนดมาตรฐานทางด้านการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนสารสนเทศด้วย เช่น ISO/OSI model ซึงหมายถึงมาตรฐานของการปฏิสัมพันธ์ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งต่อเชื่อมโยงอยู่กับเครือข่ายการสื่อสาร

6.OS/2 : เป็นระบบควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ระบบหนึ่งที่ใช้กับ PC หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นไมรโครคอมพิวเตอร์ และเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้โพรเซสเซอร์ของ Intel 80286, 80386, 80486, และ Pentium (80586) ระบบควบคุมการทำงาน OS/2 เป็นระบบควบคุมการทำงานประเภท virtual-memory, และ multitasking protected-mode (ดูรายละเอียดในหัวข้อต่างๆ เหล่านี้เพิ่มเติม)

7.LISP : เป็นคำย่อของ List Processing เป็นภาษาโปรแกรมภาษาหนึ่ง ซึ่งพัฒนาระหว่างปี พ.ศ. 2502-2503 โดย John McCarthy เป็นภาษาที่ใช้สำหรับลงรายการของข้อมูล

8.NTSC : คำย่อของคำว่า National Television System Commitee หมายถึงคณะกรรมการควบคุมมาตรฐานของโทรทัศน์และวีดีโอในสหรัฐอเมริกา

9.ultra–large–scale integration : มักใช้ คำย่อว่า ULSI เป็นวงจร รวมหรือ integrated circuit ขนาดมหึมาซึ่งอุปกรณ์ที่ต่อเป็นวงจรถูกอัดรวมเข้าจนมีขนาดเล็กเท่าปลายนิ้วก้อยที่เรียกว่า chip หรือ microchip ใน chip อันหนึ่งจะมีวงจรอยู่มากกว่า 100,000 วงจรขึ้นไป

10.utility program : โปรแกรมชนิดหนึ่ง ออกแบบมาเพื่อให้ปฏิบัติงานในระบบหรือในส่วนประกอบนอกระบบ เช่น เป็นโปรแกรมสำรองคลังข้อมูล สำรองดิสก์ และเป็นโปรแกรมแก้ไขแฟ้มข้อมูล เป็นต้น

11.parallel transmission : การถ่ายทอดสัญญาณของกลุ่มของบิต พร้อมกันทั้งกลุ่มไปตามสายที่แยกกันเป็นสายๆ; ในไมโครคอมพิวเตอร์ หมายถึงการถ่ายทอดสัญญาณไปทีละ 1 ไบต์ หรือ 8 บิต เป็นการถ่ายทอดแบบขนาน

12.PL/C : เป็นภาษาโปรแกรม รุ่น (version) หนึ่ง ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยคอร์เนล เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ประเภท mainframe

13.protected mode : วิธีการทำงานแบบหนึ่งของไมโครโพรเซสเซอร์ Intel 80286 และรุ่นอื่นๆ ที่สูงกว่านี้ขึ้นไป ซึ่งทำให้ชิพเหล่านี้สามารถทำงานได้มากกว่าเดิม เมื่อเริ่มเข้าสู่ proteced mode CPU เหล่านี้ทำให้ฮาร์ดแวร์สามารถทำงานแบบ multitasking, data security และ virtual memory ได้

14.hyphenation program : โปรแกรมอย่างหนึ่ง ซึ่งมีคำสั่งเกี่ยวกับการแบ่งคำที่มีหลายพยางค์ โดยการขีดเส้นแบ่งคำ ระหว่างพยางค์ที่อยู่บรรทัดบน และพยางค์ที่อยู่บรรทัดถัดไปโดยอัตโนมัติ กิจลักษณ์การแบ่งคำนี้ มักมีในภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาไทย

15.relational database : ฐานข้อมูลชนิดหนึ่ง ซึ่งเก็บสารสนเทศไว้ในตารางซึ่งประกอบไปด้วย แถว (row) และคอลัมน์ (column) ของข้อมูล และใช้ข้อมูลในคอลัมน์ของตารางหนึ่ง เป็นเครื่องมือสำหรับค้นหาข้อมูลในอีกตารางหนึ่ง ใน relational database นี้ แถว (row) ของตารางจะแทนระเบียน (record) และคอมลัมน์ (column) จะแทน field สมมุติว่า ในตารางที่ 1 มี field ชื่อ LASTNAME , FIRSTNAME , EMPLOYEE-ID ในตารางที่ 2 มี field ชื่อ EMPLOYEE-ID , DEPT , SALARY จะเห็นว่า ฐานข้อมูลสัมพันธ์ (relational database) สามารถเปรียบเทียบ field ที่ชื่อ EMPLOYEE-ID ของทั้งสองตารางเข้าด้วยกัน เพื่อหา สารสนเทศที่ต้องการ เช่น ชื่อสกุล ชื่อตัว รวมทั้งเงินเดือนของลูกจ้างได้