[Clip]Ost.Beck - Moon on the water

วันอังคารที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑

งานชิ้นที่ 2 - Linux Command

File/Directory Basics การเข้าถึงไฟล์ข้อมูล

คำสั่ง ls
หน้าที่ List files
รายละเอียด แสดงรายชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี่

คำสั่ง cp
หน้าที่ Copy files
รายละเอียด สำเนาไฟล์

คำสั่ง mv
หน้าที่ Rename files
รายละเอียด เปลี่ยนชื่อไฟล์

คำสั่ง rm
หน้าที่ Delete files
รายละเอียด ลบไฟล์

คำสั่ง ln
หน้าที่ Link files
รายละเอียด สร้างไฟล์เชื่อมโยง

คำสั่ง cd
หน้าที่ Change directory
รายละเอียด ย้ายไปยังไดเร็คทอรี่ที่ต้องการ

คำสั่ง pwd
หน้าที่ Print current directory name
รายละเอียด แสดงชื่อไดเร็คทอรี่ปัจจุบัน

คำสั่ง mkdir
หน้าที่ Create directory
รายละเอียด สร้างไดเร็คทอรี่ใหม่

คำสั่ง rmdir
หน้าที่ Delete directory
รายละเอียด ลบไดเร็คทอรี่ (ที่ว่างเปล่าเท่านั้น)

File Viewing การดูข้อมูล

คำสั่ง cat
หน้าที่ View files
รายละเอียด เนื้อหาของ text file

คำสั่ง less
หน้าที่ Page trough files
รายละเอียด เลื่อนดูเนื้อหาของไฟล์

คำสั่ง head
หน้าที่ View file beginning
รายละเอียด แสดงส่วนต้นของไฟล์

คำสั่ง tail
หน้าที่ View files ending
รายละเอียด แสดงส่วนท้ายของไฟล์

คำสั่ง nl
หน้าที่ Number lines
รายละเอียด แสดงหมายเลขบรรทัด

คำสั่ง od
หน้าที่ View binary files
รายละเอียด แสดงเนื้อหาในไฟล์ไบนารี่

คำสั่ง xxd
หน้าที่ View binary files
รายละเอียด แสดงเนื้อหาในไฟล์ไบนารี่

คำสั่ง gv
หน้าที่ View Postscript/PDF files
รายละเอียด แสดงไฟล์แบบโพสต์สคริปต์หรือ PDF

คำสั่ง xdvi
หน้าที่ View TeX DVI files
รายละเอียด แสดงไฟล์รูปแบบ TeX

File Creation and Editing การสร้างและแก้ไขข้อมูล

คำสั่ง emacs
หน้าที่ Text editor
รายละเอียด โปรแกรมแก้ไขข้อความของ GNU

คำสั่ง vim
หน้าที่ Text editor
รายละเอียด โปรแกรมแก้ไขข้อความที่ปรับปรุงจาก vi

คำสั่ง umask
หน้าที่ Set default file protections
รายละเอียด แสดง/กำหนดค่าสำหรับคำนวณค่า permission mode

คำสั่ง soffice
หน้าที่ Edit Word/Excel/PowerPoint docs
รายละเอียด แก้ไขไฟล์เอกสาร Word/Excel/PowerPoint

คำสั่ง abiword
หน้าที่ Edit Word documents
รายละเอียด แก้ไขเอกสาร Word

คำสั่ง gnumeric
หน้าที่ Edit Excel documents
รายละเอียด แก้ไขเอกสาร Excel

File Properties รายละเอียดของข้อมูล

คำสั่ง stat
หน้าที่ Display file attributes
รายละเอียด แสดงสถานะ/สถิติ/คุณลักษณะของไฟล์

คำสั่ง wc
หน้าที่ Count bytes/words/lines
รายละเอียด นับจำนวนอักขระ คำ บรรทัด

คำสั่ง du
หน้าที่ Measure disk usage
รายละเอียด แสดงปริมาณการใช้เนื้อที่ไดเร็คทอรี่

คำสั่ง file
หน้าที่ Identify file types
รายละเอียด แสดงชนิดของไฟล์

คำสั่ง touch
หน้าที่ Change file timestamps
รายละเอียด เปลี่ยนค่าเวลาของไฟล์

คำสั่ง chown
หน้าที่ Change file owner
รายละเอียด เปลี่ยนชื่อเจ้าของไฟล์

คำสั่ง chgrp
หน้าที่ Change file group
รายละเอียด เปลี่ยนชื่อกรุ๊ปเจ้าของไฟล์

คำสั่ง chmod
หน้าที่ Change file protections
รายละเอียด เปลี่ยนระดับการป้องกันไฟล์

คำสั่ง chattr
หน้าที่ Change advanced file attributes
รายละเอียด เปลี่ยนคุณลักษณะของไฟล์ในขั้นสูง

คำสั่ง Isattr
หน้าที่ List advanced file attributes
รายละเอียด แสดงคุณลักษณะของไฟล์ในขั้นสูง

File Location ตำแหน่งของข้อมูล

คำสั่ง find
หน้าที่ Locate files
รายละเอียด ค้นหาตำแหน่งของไฟล์

คำสั่ง slocate
หน้าที่ Locate files via index
รายละเอียด ค้นหาตำแหน่งของไฟล์ด้วยฐานข้อมูลดัชนี

คำสั่ง which
หน้าที่ Locate commands
รายละเอียด ค้นหาคำสั่ง

คำสั่ง whereis
หน้าที่ Locate standard files
รายละเอียด ค้นหาไฟล์มาตรฐาน

File Text Manipulation

คำสั่ง grep
หน้าที่ Search text for matching lines
รายละเอียด ค้นหาข้อความในระดับบรรทัด

คำสั่ง cut
หน้าที่ Extract columns
รายละเอียด คัดแยกคำโดยระบุตำแหน่ง

คำสั่ง paste
หน้าที่ Append columns
รายละเอียด เชื่อมต่อไฟล์ในแนวระนาบ

คำสั่ง tr
หน้าที่ Translate characters
รายละเอียด แปลงข้อความ

คำสั่ง sort
หน้าที่ Sort lines
รายละเอียด จัดเรียงข้อความระดับบรรทัด

คำสั่ง uniq
หน้าที่ Locate indentical lines
รายละเอียด รวมบรรทัดที่เหมือนกัน

คำสั่ง tee
หน้าที่ Copy stdin to file and to stdout simultaneously
รายละเอียด สำเนาข้อความออกทางไฟล์และ stdout พร้อมๆ กัน

File Compression การบีบอัดไฟล์

คำสั่ง gzip
หน้าที่ Compress files (GNU Zip)
รายละเอียด บีบอัดไฟล์ให้เป็น .gz

คำสั่ง Compress
หน้าที่ Compress files (Unix)
รายละเอียด บีบอัดไฟล์แบบมาตรฐาน Unix

คำสั่ง bzip2
หน้าที่ Compress files (BZip2)
รายละเอียด บีบอัดไฟล์ให้เป็น .bz2

คำสั่ง zip
หน้าที่ Compress files (Windows Zip)
รายละเอียด บีบอัดไฟล์สำหรับ WinZip

File Comparison การเปรียบเทียบข้อมูล

คำสั่ง diff
หน้าที่ Compare files line by line
รายละเอียด เปรียบเทียบไฟล์ในระดับบรรทัด

คำสั่ง comm
หน้าที่ Compare sorted files
รายละเอียด เปรียบเทียบไฟล์ที่ผ่านการเรียงข้อมูลมาแล้ว

คำสั่ง cmp
หน้าที่ Compare files byte by byte
รายละเอียด เปรียบเทียบไฟล์ระดับไบต์

คำสั่ง md5sum
หน้าที่ Compute Checksums
รายละเอียด คำนวณหาค่า md5 ของไฟล์

Disks and File systems

คำสั่ง df
หน้าที่ Show free disk space
รายละเอียด รายงานขนาดดิสก์ที่เหลืออยู่

คำสั่ง mount
หน้าที่ Make a disk accessible
รายละเอียด เชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเข้าสู่ระบบ

คำสั่ง fsck
หน้าที่ Check a disk for errors
รายละเอียด ตรวจสอบแก้ไขความผิดปรกติของเนื้อที่ดิสก์

คำสั่ง sync
หน้าที่ Flush disk caches
รายละเอียด เขียนข้อมูลในแคชกลับคืนสู่ดิสก์

Backups and Remote Storage แบ๊คอัพข้อมูล

คำสั่ง mt
หน้าที่ Control a type drive
รายละเอียด ควบคุมเทป

คำสั่ง dump
หน้าที่ Back up a disk
รายละเอียด สำรองข้อมูลจากดิสก์

คำสั่ง restore
หน้าที่ Restore a dump
รายละเอียด นำข้อมูลที่สำรองไว้กลับคืนที่เดิม

คำสั่ง tar
หน้าที่ Read/write type archives
รายละเอียด จัดเก็บไฟล์ให้รวมกันไว้ที่เดียว

คำสั่ง cdrecord
หน้าที่ Burn a CD
รายละเอียด เขียนไฟล์ลงสู่แผ่นซีดี

คำสั่ง rsync
น้าที่ Mirror a set of files
รายละเอียด สำรองข้อมูลระหว่างโฮสต์

Printing พิมพ์งาน

คำสั่ง lpr
หน้าที่ Print files
รายละเอียด ส่งไฟล์ไปพิมพ์ที่เครื่องพิมพ์

คำสั่ง lpq
หน้าที่ View print queue
รายละเอียด เปิดดูลำดับงานพิมพ์ที่ค้างอยู่

คำสั่ง lprm
หน้าที่ Remove print jobs
รายละเอียด ยกเลิกงานพิมพ์ที่ค้างอยู่

Spelling Operations คำสั่งตรวจคำและสะกดคำ

คำสั่ง look
หน้าที่ Look up spelling
รายละเอียด เปิดสารบัญคำศัพท์

คำสั่ง aspell
หน้าที่ Check spelling interactively
รายละเอียด ตรวจคำสะกดว่าถูกต้องหรือไม่

คำสั่ง spell
หน้าที่ Check spelling in batch
รายละเอียด ตรวจคำถูกผิดในไฟล์จำนวนมาก

Processes การประมวลผล

คำสั่ง ps
หน้าที่ List all processes
รายละเอียด แสดงโปรเซสทั้งหมด

คำสั่ง w
หน้าที่ List users' processes
รายละเอียด แสดงรายชื่อยูสเซอร์ที่กำลังใช้งานโปรเซส

คำสั่ง uptime
หน้าที่ View the system load
รายละเอียด แสดงปริมาณภาระของระบบ

คำสั่ง top
หน้าที่ Monitor processes
รายละเอียด แสดงข้อมูลเกี่ยวกับโปรเซสแบบต่อเนื่อง

คำสั่ง xload
หน้าที่ Monitor system load
รายละเอียด แสดงภาระของระบบในแบบกราฟฟิก

คำสั่ง free
หน้าที่ Display free memory
รายละเอียด แสดงปริมาณหน่วยความจำประเภทต่างๆในปัจจุบัน

คำสั่ง kill
หน้าที่ Terminate processes
รายละเอียด ส่งรหัสควบคุมไปยังโปรเซส

คำสั่ง nice
หน้าที่ Set process priorities
รายละเอียด ตั้งค่าระดับความสำคัญให้โปรเซส

คำสั่ง renice
หน้าที่ Change process priorities
รายละเอียด ปรับระดับความสำคัญของโปรเซส

Scheduling Jobs คำสั่งเช็คตารางงาน

คำสั่ง sleep
หน้าที่ Wait for some time
รายละเอียด หน่วงเวลา

คำสั่ง watch
หน้าที่ Run programs at set intervals
รายละเอียด รันโปรแกรมซ้ำในระยะเวลาที่กำหนด

คำสั่ง at
หน้าที่ Schedule a job
รายละเอียด ตั้งเวลารันกลุ่มคำสั่ง

คำสั่ง crontab
หน้าที่ Schedule repeated jobs
รายละเอียด ตั้งเวลารันคำสั่งเป็นรอบเวลาที่กำหนด

Hosts

คำสั่ง uname
หน้าที่ Print system information
รายละเอียด แสดงรายละเอียดของระบบปฏิบัติการ

คำสั่ง hostname
หน้าที่ Print the system's hostname
รายละเอียด แสดง/กำหนดชื่อโฮสต์

คำสั่ง ifconfig
หน้าที่ Set/display network information
รายละเอียด แสดง/กำหนดค่าเกี่ยวกับเครือข่าย

คำสั่ง host
หน้าที่ Look up DNS
รายละเอียด ค้นชื่อและไอพีของโฮสต์ในระบบ DNS

คำสั่ง whois
น้าที่ Lookup domain registrants
ยละเอียด สืบค้นข้อมูลการจดทะเบียนโดเมน

คำสั่ง ping
หน้าที่ Check if host is reachable
รายละเอียด ทดสอบการตอบสนองของโฮสต์ปลายทาง

คำสั่ง traceroute
หน้าที่ View network path to a host
รายละเอียด ตรวจสอบเส้นทางไปสู่โฮสต์ปลายทาง

Networking เครือข่าย

คำสั่ง ssh
หน้าที่ Securely log into remote hosts
รายละเอียด เข้าสู่โฮสต์จากระยะไกล (มีการเข้ารหัสข้อมูล)

คำสั่ง telnet
หน้าที่ Log into remote hosts
รายละเอียด เข้าสู่โฮสต์จากระยะไกล(ไม่มีการเข้ารหัส)

คำสั่ง scp
หน้าที่ Securely copy files between hosts
รายละเอียด สำเนาไฟล์ระหว่างโฮสต์(มีการเข้ารหัสข้อมูล)

คำสั่ง stfp
หน้าที่ copy files between hosts
รายละเอียด บริการโอนถ่ายไฟล์ระหว่างโฮสต์(มีการเข้ารหัสข้อมูล)

คำสั่ง ftp
หน้าที่ Copy files between hosts
รายละเอียด บริการโอนถ่ายไฟล์ระหว่างโฮสต์(ไม่มีการเข้ารหัสข้อมูล)

คำสั่ง evolution
หน้าที่ GUI email client
รายละเอียด โปรแกรมใช้งานอีเมล์แบบกราฟฟิก

คำสั่ง mutt
หน้าที่ Text-based email client
รายละเอียด โปรแกรมใช้งานอีเมล์แบบ text

คำสั่ง mail
หน้าที่ Minimal email client
รายละเอียดคำสั่งรับส่งอีเมล์ขนาดเล็กมาก

คำสั่ง mozilla
หน้าที่ Web browser
รายละเอียด โปรแกรมเว็บบราวเซอร์แบบกราฟฟิก

คำสั่ง lynx
หน้าที่ Text-only web browser
รายละเอียด โปรแกรมเว็บบราวเซอร์แบบ text

คำสั่ง wget
หน้าที่ Retrieve web pages to disk
รายละเอียด ดาวน์โหลดข้อมูลเว็บมาสู่ดิสก์

คำสั่ง slrn
หน้าที่ Read Usenet news
รายละเอียด อ่านข่าวใน usenet

คำสั่ง gaim
หน้าที่ Instant messaging/IRC
รายละเอียด โปรแกรมรับส่งข้อความ

คำสั่ง talk
หน้าที่ Linux/Unix chat
รายละเอียด คำสั่งรับส่งข้อความโต้ตอบ

คำสั่ง write
หน้าที่ Send messages to a termainal
รายละเอียด คำสั่งส่งข้อความไปยังจอภาพอื่น

คำสั่ง mesg
หน้าที่ Prohibit talk/write
รายละเอียด เปิด/ปิดการรับข้อความจาก write

Audio and Video คำสั่งเล่นเพลง

คำสั่ง grip
หน้าที่ Play CDs and rip MP3s
รายละเอียด เล่นแผ่นซีดีเพลงและแปลงเป็นไฟล์ MP3

คำสั่ง xmms
หน้าที่ Play audio files
รายละเอียด เล่นไฟล์เสียงชนิดต่างๆ

คำสั่ง cdparanoia
หน้าที่ Rip audio
รายละเอียด แปลงแทร็กเพลงให้เป็นไฟล์

คำสั่ง audacity
หน้าที่ Edit audio
รายละเอียด ปรับแต่ง/แก้ไขไฟล์เสียง

คำสั่ง xcdroast
หน้าที่ Burn CDs
รายละเอียด บันทึกข้อมูล/แทร็กเสียงลงแผ่นซีดี

Linux Distribution - Ubuntu



เป็นลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others"

อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 8.10 รหัส Intrepid Ibex นั้น มูลนิธิ อูบุนตูได้ประกาศว่าจะขยายระยะเวลาสนับสนุนเป็น 3 ปี ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้



เว็บไซต์บริษัท : http://www.ubuntu.com/

ผู้พัฒนา : Canonical Ltd. / Ubuntu Foundation

ตระกูลโอเอส : ลินุกซ์

โมเดลต้นฉบับ : โอเพนซอร์ส

เปิดตัวครั้งแรก : ตุลาคม 20 2547 (2547-10-20) (4 ปีก่อน)

รุ่นเสถียรล่าสุด : 8.10 / ตุลาคม 30 2551 (2551-10-30); -198315 วัน ที่ผ่านมา

ภาษาที่ใช้งานได้ : หลากภาษา (มากกว่า 55)

วิธีการอัปเดต : APT
ตัวจัดการแพกเกจ : dpkg

แพลตฟอร์มที่รองรับ : i386, AMD64, IA-64, UltraSPARC [1], PowerPC [2]

ชนิดเคอร์เนล : Monolithic (ลินุกซ์ เคอร์เนล)

อินเทอร์เฟซพื้นฐาน : GNOME, KDE (ดู Kubuntu) , XFCE (ดู Xubuntu)

ลิขสิทธิ์ : หลากหลาย เน้นหลักที่ GPL และ GFDL
สถานะ : ปัจจุบัน/เสถียร


ความสามารถสำคัญ


- นักพัฒนา Ubuntu จำนวนมากมาจากชุมชนเดเบียนและ GNOME โดยการออก Ubuntu รุ่นใหม่จะตรงกับรุ่นใหม่ของ GNOME อยู่เสมอ มีนักพัฒนาอีกหลายกลุ่มพยายามที่จะใช้ KDE กับ Ubuntu และทำให้เกิดโครงการ Kubuntu ขึ้น นอกจากนี้ยังมีโครงการ Xubuntu สำหรับ XFCE และตัว Shuttleworth เองยังประกาศโครงการ Gnubuntu ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด ตามอุดมคติของริชาร์ด สตอลแมน และโครงการ Edubuntu ซึ่งเป็นลีนุกซ์ที่ใช้ภายในโรงเรียนอีกด้วย - Ubuntu นั้นเน้นในเรื่องความง่ายในการใช้งานเป็นหลัก ใช้เครื่องมือ sudo สำหรับงานบริหารระบบ เช่นเดียวกับ Mac OS X- รองรับการทำงานกับทั้ง CPU ชนิด 32bit และชนิด 64bit- รูปแบบการติดตั้งแบบ Live CD ที่รันระบบปฏิบัติการจากแผ่นซีดีให้ทดลองใช้ก่อนการติดตั้งจริง- ทุกโครงการของ Ubuntu นั้นไม่เสียค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ผู้ใช้ทุกคนจากทุกประเทศสามารถขอรับซีดี Ubuntu ได้ฟรี (ทาง Ubuntu จะเป็นฝ่ายเสียค่าจัดส่งให้ทางไปรษณีย์) ใต้ชื่อโครงการ Ubuntu Shipit โครงการนี้ยังแบ่งย่อยเป็น Kubuntu Shipit, Xubuntu Shipit และ Edubuntu Shipit ด้วย- ส่วนติดต่อผู้ใช้หลังจากติดตั้งเสร็จจะเป็นสีน้ำตาลและส้ม ใช้ชื่อชุดตกแต่งนี้ว่า Human ซึ่งมีผู้ใช้บางกลุ่มไม่ชอบ แต่สามารถปรับเปลี่ยนได้ - ใช้ระบบ APT และ Synaptic ในการจัดการโปรแกรมของระบบ- Linux TLE ซึ่งเป็น Linux พัฒนาโดยคนไทยตั้งแต่ version 8.0 ก็ใช้ Ubuntu เป็นฐานในการพัฒนา

รุ่นที่ออก

- Ubuntu ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน แต่ละรุ่นใช้เรียกโดยโค้ดเนม และเลขกำกับรุ่น ซึ่งใช้ตามเลขปีคริสต์ศักราชและเดือนที่ออก อย่างเช่น รุ่นที่ออกเดือนตุลาคม ค.ศ. 2004 จะมีเลขรุ่นเป็น 4.10 เป็นต้น

- การเปิดตัวทุกเวอร์ชันจะออกช้ากว่า GNOME ประมาณ 1 เดือน, และออกตามหลัง 1 เดือน เมื่อ X.org ออกเวอร์ชันใหม่. ดังนั้นทุกๆการเปิดตัวของ Ubuntu จะประกอบด้วยเวอร์ชันใหม่ของทั้งGNOME และ X

- ตั้งแต่เวอร์ชัน6.06 จนถึง 8.04จะมีการติดป้ายชื่อ Long Term Support (LTS) เป็นการบอกว่ามันจะได้รับการสนับสนุนและการปรับปรุงเป็นเวลา 3 ปีสำหรับเครื่องเดสท็อปและ5 ปี สำหรับเครื่องแม่ข่าย, ด้วยการจ่ายค่าสนับสนุนทางเทคนิคของบริษัท Canonical

ประวัติและลำดับการพัฒนา

เปิดตัวเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2004 โดยเริ่มจากการแยกตัวชั่วคราวออกมาทำจากโครงการ Debian GNU/Linux เมื่อเสร็จสิ้นคราวนั้นแล้วก็ได้มีการออกตัวใหม่ๆทุก 6 เดือน และมีการอับเดตระบบอยู่เรื่อยๆ Ubuntu เวอร์ชันใหม่ๆที่ออกมาก็ได้ใส่ GNOME เวอร์ชันล่าสุดเข้าไปด้วย โดยแผนการเปิดตัวทุกครั้งจะออกหลังจาก GNOME ออกหนึ่งเดือน ซึ่งตรงข้ามกับทางฝั่งที่แยกออกมาจาก Debian อื่นๆ เช่นพวก MEPIS, Xandros, Linspire, Progeny และ Libranet ทั้งหมดล้วนมีกรรมสิทธิ์ และไม่เปิดเผยCode ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในรูปแบบธุรกิจ Ubuntu เป็นตัวปิดฉากหลักการของ Debian และมีการใช้งานฟรีมากที่สุดในเวลานี้โลโก้ของ Ubuntu ยังคงใช้รูปแบบเดิมตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก ซึ่งสร้างโดย แอนดี้ ฟิสสิมอน ฟอนต์ได้รับการแจกมาจาก Lesser General Public License แล้วก็ได้มาเป็นโลโก้Ubuntu ส่วนประกอบต่างๆของUbuntu ส่วนใหญ่มีพื้นฐานมาจากความไม่แน่นอนของ Debian โดยทั้งสองใช้ Debian's deb package format และ APT/Synaptic เป็นตัวจัดการการติดตั้งส่วนประกอบต่างๆUbuntu ร่วมมือกับ Debian ในการผลักดันให้เปลี่ยนกลับไปเป็น Debian ถึงแม้ว่าว่าได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ ส่วนประกอบของทั้งสองไม่สามารถเข้ากันได้ ผู้พัฒนาUbuntuหลายๆคนว่ามีตัวจัดการรหัสของส่วนประกอบของDebianอยู่ภายในตัวมันเอง อย่างไรก็ตาม แลน เมอดั๊ก ผู้คิดค้น Debian ได้วิจารณ์ในเรื่องความเข้ากันไม่ได้ในหลายๆอย่าง ระหว่างส่วนประกอบของ Ubuntu กับ Debian กล่าวไว้ว่า Ubuntu แตกต่างเป็นอย่างมากจาก Debian ในเรื่องความเข้ากันได้นั้นคือแผนการที่จะแตกแยกโดยมีชื่อเรือกว่า Grumpy Groundhog มันควรจะมั่นคงแน่นอนในการพัฒนาและทดสอบ ผลักดันให้ซอร์สโค๊ด ออกไปโดยตรงจาก การควบคุมการแก้ไข ของโปรแกรมต่างต่างๆ และโปรแกรมประยุกต์นั้นก็ได้โอนย้ายไปเป็นส่วนของ Ubuntu นั่นควรจะอนุญาตให้ เหล่าpower users และ upstream developers ในการทดสอบโปรแกรมส่วนบุคคล พวกเขาน่าจะได้ทำหน้าที่ ถ้าโปรแกรมได้ถูกกำหนดเป็นส่วนประกอบที่ได้ทำการแจกจ่ายแล้ว นอกจากนี้แล้วยังต้องการที่จะสร้างส่วนประกอบขึ้นมาด้วยตัวของพวกเขาเอง มันควรจะสามารถจัดเตรียมล่วงหน้า ก่อนคำเตือนของการสร้างที่ผิดพลาด บนโครงสร้างที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการเตรียมการเอาไว้ของ กัมไปร์ กราวฮ๊อก ร่วมมือกับ Debian Unstable ทุกๆ 6 เดือน และกัมไปร์ กราวฮ๊อก ได้ทำให้เป็นซอฟแวร์แบบสาธารณะแล้วปัจจุบัน Ubuntu ได้รับเงินทุนจาก บริษัท Canonical ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ และ บริษัทCanonical ประกาศสร้าง Ubuntu Foundation และเริ่มให้ทุนสนับสนุน 10 ล้านเหรียญสหรัฐ จุดมุ่งหมายของการริเริ่มที่แน่นอนว่าจะสนับสนุนและพัฒนา เวอร์ชันต่อๆไปข้างหน้าของ Ubuntu แต่ในปี ค.ศ. 2006 จุดมุ่งหมายก็ได้หยุดลง นาย มาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ กล่าวว่าจุดมุ่งหมายที่จะได้เงินทุนฉุกเฉินจากความสัมพันธ์กับบริษัทCanonical คงจบลง ในช่วงเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ได้มี Ubuntu Live 2007ขึ้น นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ประกาศว่า Ubuntu 8.04 (กำหนดการออกเดือนเมษายน ค.ศ. 2008) จะมีการสนับสนุน Long Term Support (LTS) เขาได้ดึงบริษัท Canonical มาเป็นคณะกรรมการในการออกเวอร์ชันการสนับสนุนLTSใหม่ๆทุกๆ 2 ปี

ผู้สนับสนุน
เดลล์

ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 บริษัทDell ได้ประกาศว่าจะขายเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโน็ตบุ๊คที่ได้ติดตั้ง Ubuntu ไปด้วย และในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2007 คอมพิวเตอร์เหล่านั้นได้นำออกขายในสหรัฐ. พวกเขาได้เริ่มให้บริการลูกค้าในการใช้งาน Ubuntu ผ่านทางบริษัทDell, ด้วยการสนับสนุนจากบริษัท Canonical ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 2007 คอมพิวเตอร์เหล่านั้นได้นำออกขายในอังกฤษ, ฝรั่งเศสและเยอรมันซึ่งเป็นไปด้วยดี ถ้าเลือกใช้เครื่อง DELL ในขณะนี้ก็จะมี ระบบปฏิบัติการ Ubuntu 7.10 กับ โปรแกรมLinDVD ไว้ดูหนังดีวีดี

Tesco

ในเดือนตุลาคม บริษัทTesco ได้ตามมาแนวเดียวกับบริษัทDell โดยเริ่มขายเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีระบบปฏิบัติการUbuntu 6.06 LTS แต่ก็มีส่วนที่ไม่เหมือนกับ Dell ที่ไม่ได้ให้บริษัทCanonical เป็นคนสนับสนุนช่วยเหลือ

System76

ตั้งแต่เริ่มแรกมาในเดือนพฤษจิกายน ค.ศ. 2005 โดย System76 เป็นบริษัทที่มีสำนักงานใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ได้ให้การสนันสนุนระบบปฏิบัติการ Ubuntu ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ,โน้ตบุ๊ก และ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย

Linux Distribution - Arch Linux



Arch Linux คือ Linux distribution ที่ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมสำหรับ platform i686/x86-64 และยังได้รับการออกแบบมาให้สามารถเข้าใจได้ทั้งผู้ใช้ Linux ระดับทั่วไปและระดับสูง


ข้อดีของ Arch Linux


Arch เร็ว, เล็ก, ปรับแต่งได้และเรียบง่าย และที่สำคัญที่สุดคือ ข้อดีเหล่านี้เป็นความจริง Arch ได้ถูกปรับแต่งมาสำหรับ Platform i686 ISA ดังนั้นมันสามารถทำงานได้มากกว่า เมื่อเทียบต่อกัน CPU Cycle Arch มีขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับ Redhat และ Distribution อื่นๆ และการออกแบบที่เรียบง่ายทำให้คุณสามารถปรับแต่ง Arch ให้เข้ากับ ระบบที่คุณต้องการใช้งานได้


Linux Distribution - Synaptic

Synaptic เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนโดยใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้แบบ GTK+ โดยเรียกคำสั่งจากระบบแพกเกจ Advanced Packaging Tool ของระบบปฏิบัติการในตระกูลเดเบียน Synaptic มักจะใช้จัดการกับแพกเกจซอฟต์แวร์แบบ deb (อย่างไรก็ตาม มีการนำ Synaptic ไปใช้กับแพกเกจระบบอื่น เช่น RPM เป็นต้น)

ผู้ใช้สามารถใช้ Synaptic ในการติดตั้ง, ลบ, อัพเกรดแพกเกจของซอฟต์แวร์ในระบบได้ประวัติSynaptic

ถูกพัฒนาขึ้นโดย Alfredo Kojima ซึ่งขณะนั้นเป็นพนักงานของบริษัท Conectiva(ปัจจุบันรวมตัวกับบริษัท Mandrake เปลี่ยนชื่อเป็น Mandriva) ปัจจุบัน Synaptic มีนักพัฒนาหลักคือ Michael Vogt

ผู้พัฒนา : Michael Vogt

รุ่นล่าสุด : 0.57.11 / 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

ระบบปฏิบัติการ : ลินุกซ์

ประเภท : ระบบจัดการแพกเกจ

สัญญาอนุญาต : GPL

เว็บไซต์ : www.nongnu.org/synaptic
หน้าตาระบบ Synaptic บน Ubuntu


Linux Distribution - LinuxTLE



ลินุกซ์ทะเล (LinuxTLE) คือชื่อของระบบปฏิบัติการในลักษณะของลินุกซ์ที่ปัจจุบันพัฒนาต่อมาจากอูบุนตุโดยเพิ่มความสามารถภาษาไทยปัจจุบันพัฒนาโดยเนคเทคโดยรุ่นปัจจุบันคือ ลินุกซ์ทะเล 9.0 รหัสว่า "หัวหิน" ที่เน้นการใช้งานสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ทั้งการใช้ที่บ้าน ที่สำนักงาน ในสถานศึกษา สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทั้งคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์พกพาชื่อ TLE ย่อมาจากคำว่า Thai Language Extensionที่หมายถึงส่วนขยายภาษาไทย เพื่อบอกให้ทราบว่าเป็นชุดเผยแพร่ลินุกซ์ที่เน้นการใช้งานภาษาไทย โดยชื่อเรียก "ทะเล" นั้นเกิดจากการลากเข้าความในภายหลัง เพื่อให้ออกเสียงได้ง่าย และมีลักษณะความเป็นไทยแฝงอยู่ ลินุกซ์ทะเลได้รับการยกย่องให้เป็นดิสโทรยอดเยี่ยมประจำสัปดาห์จากเว็บไซต์ดิสโทรวอตช์ ในเดือนธันวาคม 2547
บริษัท/ผู้พัฒนา : เนคเทค

ตระกูลโอเอส : ลินุกซ์

รุ่นเสถียรล่าสุด : 9.0 / 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

สถานะ : ยังพัฒนาอยู่

เว็บไซต์ : opentle.org/linuxtle/

ประวัติ
ลินุกซ์ทะเล เดิมพัฒนาโดยอาสาสมัครและได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง โดยในอดีตใช้ชื่อ MaTEL

(Mandrake and Thai Extension Linux) MaTEL 6.0 ได้ออกมาในรูปซีดีในเดือนกรกฎาคม 2542
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจาก MaTEL เป็น Linux-TLE (ลินุกซ์ทีแอลอี) เพื่อแยกออกมาจากส่วนของแมนเดรก และออกรุ่น 6.01 และ 6.1
ในเดือนกันยายน 2542 โดยนอกจากเผยแพร่ในรูปซีดีแล้ว ยังมีการให้ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์เนคเทคเองและในปี พ.ศ. 2543 ทางเนคเทคได้รับมาเป็นผู้พัฒนาและเผยแพร่หลัก และได้ชื่อไทยว่า ลินุกซ์ทะเล โดยมีสัญลักษณ์เป็นรูปโลมา ในรุ่น 3.0 จนถึงปัจจุบันในเดือนธันวาคม พ.ศ.2547

ลินุกซ์ทะเลได้รับการยกย่องให้เป็นดิสโทรยอดเยี่ยมประจำสัปดาห์จากเว็บไซต์ดิสโทรวอตช์ปัจจุบัน ลินุกซ์ทะเลพัฒนาเป็นรุ่น ลินุกซ์ทะเล 9.0 "หัวหิน"


ลินุกซ์ทะเล 9.0 "หัวหิน"
ปัจจุบันลินุกซ์ทะเลพัฒนาถึง LinuxTLE 9.0 "Hua-Hin" (หัวหิน) (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)


โดยเป็นการพัฒนาต่อจากฐานลินุกซ์ Ubuntu เช่นเดียวกับรุ่น 8.0
แอปพลิเคชันหลักในลินุกซ์ทะเล 9.0
โอเพนออฟฟิศดอตอ็อก - โปรแกรมสำนักงานไฟร์ฟอกซ์ - เว็บเบราว์เซอร์พิดจิน - เมสเซนเจอร์กิมป์อิงก์สเคป


คุณสมบัติใหม่


- เพิ่มตัวปรับแต่ง 3D desktop แบบละเอียด

- แก้ปัญหาเกี่ยวกับการ pango ligatures ใน iceweasel

- แก้ปัญหาการตัดคำภาษาไทย (#81519) บน OpenOffice.org รุ่น 2.3.0

- เพิ่ม font Arundina เวอร์ชันล่าสุดของ SIPA- เพิ่ม fonts จากโครงการประกวด fonts จาก SIPA จำนวน 10 fonts

- เพิ่ม fonts Angsana และ Cordia จาก Unity Progress Co.Ltd.

- เพิ่มโปรแกรม Brasero สำหรับเขียนแผ่น CD/DVD- Update Thai Scalable Fonts จาก TLWG

- Iceweasel ปรับมาใช้การตัดคำภาษาไทยด้วย libthai แทนการใช้ pango ที่ทำงานช้า

- ผู้ใช้สามารถ Click ขวาบน Desktop และเลือกเมนูปรับแต่งการแสดงผลจอ (displayconfig-gtk)

- ลดปัญหาเรื่องการอัพเกรดซอฟแวร์เวอร์ชันใหม่ ๆจาก ubuntu- สามารถเข้ากันได้กับ Ubuntu 7.10

สิ่งที่แตกต่างจากรุ่นที่แล้ว

- ป้องกันการถูกทับของ package linuxtle จากการสั่งอัพเกรด

- เปลี่ยนจาก tle-center มาเป็น gnome-control-center

- เปลี่ยนจาก tle-config-display และ xorg-edit มาเป็น displayconfig-gtk


Linux Distribution - Linux SIS : Linux Simple Internet Server


ลินุกซ์ซิส (Linux SIS : Linux Simple Internet Server) เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็น
ต้นแบบมาจาก ลินุกซ์(Fedora Core) ซึ่ง ถูกพัฒนาขึ้นโดย Nectec และทีม OpenTLE
ซึ่งเป็นโครงการ รหัสเปิด (โอเพ่นซอร์ส) ซึ่งทุกคนสามารถพัฒนามันได้
บริษัท/ผู้พัฒนา : เนคเทคตระกูลโอเอส : ลินุกซ์เว็บไซต์ opentle.org/linuxsis

Linux Distribution - Red Hat


เรดแฮต (Red Hat) เป็นหนึ่งในบริษัทที่เป็นที่รู้จักในธุรกิจเกี่ยวกับซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ก่อตั้ง ค.ศ. 1993

ปัจจุบันมีพนักงานมากกว่า 700 คนใน 22 ประเทศทั่วโลก มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมือง แรลี (Raleigh)

มลรัฐนอร์ทแคโรไลนาสหรัฐอเมริกาเรดแฮตเป็นผู้นำตลาดของระบบปฏิบัติการลินุกซ์ ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทคือ

Red Hat Enterprise Linux ซึ่งพัฒนามาจากโครงการโอเพ่นซอร์ส Fedora ซึ่งเรดแฮตเองเป็นผู้สนับสนุน